มิง-กา-หล่า-บ่า !
(Mingalarpar)คือคำทักทายเป็นภาษาพม่า(เมียนมาร์)ว่าสวัสดี !
ก่อนอื่นผมต้องขออณุญาตแนะนำตัวเองกอนนะครับ ผมชื้อนายไซม่อน นำสกุล ไอวิน(ชื้อพม่าSai Mon)ผมเป็นลูกครึ่งไทยลื้อและกะเหรี่ยง เพราะคุณพ่อเป็นเชื้อสายกะเหรี่ยงและคุณแม่เป็นเชื้อสายไทยลื้อ ผมเป็นลูกคนโตในหมู่ 3 พี่น้อง ผมเกิดวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2529 อาใสอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง บ้านเกิดของผมอยู่ที่เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ตอนประถมผมเรียนอยู่ที่ท่าขี้เหล็กและมัธยมผมไปเรียนที่เมืองย่างกุ้งหลังจากนั้นผมก็ไปเรียนต่อมหาลัยที่เมืองย่างกุ้ง วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีภาษาอังกฤษ(พ.ศ.2550) และธุรกิจศึกษา(พ.ศ.2552) ที่มหาวิทยาลัยเดาะโก่ง เมืองย่างกุ้งประเทศเมียนมาร์ หลังจากที่เรียนจบผมก็ไปเป็นครูสอนภาษาพม่า (พ.ศ.2553 ถึง พ.ศ.2559)ที่โรงเรียนบ้านเวียงพาน ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อาชีพประจุบันเป็นไกด์ทัวร์ในประเทศเมียนมาร์ ผมสามารถเป็นไกด์นำพาท่านเที่ยวพม่าได้สบายๆอย่างมีความสุขและปลอดภัย
ตอนนี้ผมอยากให้ท่านมารู้จักกับประเทศพม่ากันก่อนนะครับ
สหภาพพม่าหรึอเมียนมาร์ประเทศพม่ามีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอย่างมากมายทั้งหาดทรายชายทะเล เทือกเขาสูง ภูเขาไฟ ทะเลสาบ หมู่บ้านชนพื้นเมืองที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมเก่าแก่เอาไว้อย่างเหนียวแน่นและโดยที่ชาวพม่าเป็นชนชาติที่ยึดมั่นคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่นที่สุด ดังนั้นจึงมีปูชนียสถาน วัดวาอารามและสถาปัตยกรรมแบบโบราณซึ่งยังคงความวิจิตรงดงามอย่างน่าประทับใจอยู่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหาเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ พระเกศาและพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า 5 แห่งอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณและเป็นสุดยอดมหาบูชาสถานของทั้งชาวพม่า และชาวมอญ
ภูมิศาสตร์
-ทิศเหนือมีพรมแดนติดกับประเทศจีน
-ทิศใต้มีพรมแดนติดกับประเทศไทย
-ทิศตะวันออกมีพรมแดนติดกับประเทศไทยและลาว
-ทิศตะวันตกมีพรมแดนติดกับประเทศอินเดียและบังคลาเทศ
ขนาดและอาณาเขต
ประเทศเมียนมาร์มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ 676,577 ตารางกิโลเมตร มีภูเขาคากาโบราซีซึ่งสูงเป็นอันดับสองของโลก (สูง 19,296 ฟุต) กั้นพรมแดนเมียนมาร์กับจีนทางทิศเหนือ ส่วนทางตะวันตก มีเทือกเขายะไข่โยมากั้นระหว่างแคว้นอัสสัมของอินเดียและบังคลาเทศกับพม่า ด้านตะวันออกของประเทศมีที่ราบสูงที่สำคัญ คือที่ราบสูงฉาน(Shan Plateau) ซึ่งมีความสูงประมาณ 4,000 ถึง 6,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล กั้นเมียนมาร์กับจีน ลาว และไทย นอกจากความสูงแล้ว ที่ราบสูงฉานยังมีขนาดใหญ่มากอีกด้วย โดยกินอาณาเขตถึง 1 ใน 4 ส่วนของพื้นที่ประเทศพม่าทั้งหมด
ภูมิอากาศ
ประเทศเมียนมาร์มีอากาศแบบร้อนชื้น แต่ไม่ร้อนจัด มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย
ฤดูกาล
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์
เวลา
เวลาประเทศเมียนมาร์ ช้ากว่าประเทศไทย 30 นาที
ประชากร เชื้อชาติและศาสนา
ประเทศเมียนมาร์ มีประชากรประมาณ53 ล้านคน อยู่รวมกันทั้งสิ้น 130กว่า ชาติพันธุ์ในจำนวนนี้ มีชนเผ่าพม่ามากที่สุด คือประมาณ 1 ใน 4 ส่วน รองลงมาก็คือ ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ และกะฉิ่น ตามลำดับ
สำหรับรัฐที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุด ก็คือรัฐฉาน เนื่องจากมีชนเผ่าอยู่รวมกันถึงประมาณ 80 ชาติพันธุ์ อาทิ ไทยใหญ่ ไทยน้อย ไทยทนุ อินตา ลีซอ อาข่า ม้ง จีนฮ่อ ฯลฯ
เชื้อชาติของชนเผ่าพม่าเป็นเชื้อชาติผสมพยู มองโกล และอินเดีย ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามาในเมียนมาร์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติสัดส่วนของการนับถือศาสนามีดังนี้ ศาสนาพุทธ89 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ทุกนิกายรวมกัน5.6 เปอร์เซ็นต์ อิสลาม 3.8 เปอร์เซ็นต์ ฮินดู 0.5 เปอร์เซ็นต์
เมืองหลวง
เนปีดอ (Naypyidaw หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana)ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน
สกุลเงิน
เมียนมาร์ใช้เงินจ๊าต (Kyat) เป็นหลัก มีทั้งชนิด ธนบัตรและเหรียญ (Pya) ปัจจุบันนี้เขาไม่ใช้เหรียญกันแล้ว ธนบัตรแบ่งเป็น 1,000 500 200 100 50 20 10 5 และ 1 จ๊าต เหรียญแบ่งเป็น 50 25 10 และ 5 นอกจากเงินจ๊าตแล้ว เงินยูเอสดอลลาร์ ก็เป็นที่นิยมแพร่หลาย
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก
ภาษา
นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษาโดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปะลัง (ปลัง) ภาษาปะรวก และภาษาว้าตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาทางการ) ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และ ภาษาอาข่าตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ ภาษาไทขึน ภาษาไทคำตี่ มีผู้พูดหนาแน่นในรัฐฉาน และรัฐกะฉิ่น ส่วนภาษาไทยถิ่นใต้ภาษาไทยกลาง และภาษาไทยถิ่นอีสาน มีผู้พูดในเขตตะนาวศรีตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษามาเลย์ ในเขตตะนาวศรี
ประชากร
จำนวนประชากรประมาณ 53.91 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1
การแบ่งเขตปกครอง
ประเทศพม่า ประกอบด้วยเจ็ดรัฐ และเจ็ดเขตปกครอง
• รัฐ (State)
1.รัฐชีน (Chin)
2.รัฐกะฉิ่น (Kachin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมิตจีนา
3.รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองปะอาน
4.รัฐกะยา (Kayah) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองหลอยก่อ
5.รัฐมอญ (Mon) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมะละแหม่ง
6.รัฐยะไข่ (Rakhine) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองซิตตเว
7.รัฐฉานหรือไทใหญ่ (Shan) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองตองยี
• เขต (Divisions)
1.เขตอิรวดี (Ayeyarwady) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะสิม
2.เขตพะโค (Bago) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะโค
3.เขตมาเกว (Magway) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมาเกว
4.เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมัณฑะเลย์
5.เขตสะกาย (Sagaing) มีเมืองเอกชื่อ เมืองสะกาย
6.เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) มีเมืองเอกชื่อ เมืองทวาย
7.เขตย่างกุ้ง (Yangon) มีเมืองเอกชื่อ เมืองย่างกุ้ง
รัฐฉิ่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า มีพรมแดนด้านทิศเหนือและตะวันตกติดกับประเทศอินเดีย รัฐฉิ่นยังมีพรมแดนติดกับรัฐยะไข่ เขตสกาย เขตมะกวย มีประชากรราว 465,361 คน พื้นที่ป่าไม้มีอยู่ประมาณ 400,000 เอเคอร์ ส่วนใหญ่เป็นป่าสน ประชากรในรัฐนี้ทำการเกษตรเป็นหลัก ผลผลิตที่สำคัญ คือ ข้าวโพด ถั่วทุกชนิด มันฝรั่ง ดอกทานตะวัน ฝ้าย อ้อย ยาสูบ กาแฟ ส้ม และแอปเปิ้ล ประเพณีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของรัฐฉิ่นคือ งานประจำชาติของชาวนากะ (นาคา)
รัฐกะฉิ่น ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศพม่า มีพรมแดนติดต่อกับประเทศจีน รัฐฉานและเขตสกาย มีประชากรราว 1.2 ล้านคน เมืองหลวงของรัฐกะฉิ่นคือ มิตจิน่า สภาพอากาศทางใต้ของรัฐจะอบอุ่นกว่าทางเหนือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศทางเหนือของรัฐเป็นภูเขาสูงที่มีหิมะ
ปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นตลอดปี นอกจากนี้รัฐกะฉิ่นยังเป็นรัฐที่มีชื่อเสียงทางด้านการทอผ้าโสร่ง ทั้งในด้านคุณภาพเนื้อผ้าและลวดลาย นอกจากนี้ยังมีงานประเพณีที่มีชื่อเสียง คืองานกะฉิ่นมะโน หรือ งานจีนโป้ ซึ่งจัดขึ้นราวปลายเดือนธันวาคมของทุกปี ทุกคนจะพร้อมใจกันแต่งกายสวยงาม จุดไฟ พร้อมทั้งเต้นระบำกันอย่างสนุกสนาน
รัฐกะเหรี่ยง มีพรมแดนติดกับรัฐฉาน กะยา เมืองตองอู สะเทิม เมาะละแหม่ง และอำเภอแม่สอด ประเทศไทย แม่น้ำที่สำคัญในรัฐนี้คือแม่น้ำสาละวิน มีประชากรทั้งสิ้น 1.5 ล้านคน มีประเพณีการเต้นระบำหมู่ที่มีชื่อเสียง ซึ่งจะเต้นกันในวันขึ้นปีใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ในรัฐนี้คือภูเขาชะเวกาบิน ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือเหล็ก ตะกั่ว ทองแดง ดีบุก และถ่านหิน
รัฐกะยา (กะเหรี่ยงแดง) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับไทย และทางใต้ติดกับรัฐกะเหรี่ยง มีประชากรราว 240,000 คน มีเหมืองแร่วุลเฟรม ดีบุก และดินสีแดงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นรัฐที่ผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนพม่าทั้งประเทศมาตั้งแต่สมัยอังกฤษจนถึงปัจจุบัน โดยแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญในรัฐนี้คือบริเวณน้ำตกโลปิตะ (ใกล้กับน้ำตกทีลอซูของไทย) นอกจากนี้ มีการกล่าวถึงรัฐกะยาในวรรณกรรมพื้นบ้านของเชียงใหม่เรื่องนางมโนห์รากับพระสุธน ว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของนางมโนห์รา และยังกล่าวถึงน้ำตกเจ็ดชั้นในรัฐกะยา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่เล่นน้ำของนางมโนห์ราก่อนถูกพระสุธนจับตัวไป (ปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่)
รัฐมอญ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับรัฐกะเหรี่ยงและประเทศไทย ด้านเหนือติดเขตปกครองหงสาวดี ด้านใต้ติดเขตปกครองตะนาวศรี ส่วนทางด้านตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเมาะตะมะ ประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐนี้คือชาวมอญ ซึ่งเป็นชนชาติที่เก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งในพม่า ชาวมอญทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ พุทธสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียงในรัฐนี้ก็คือ พระธาตุอินทร์แขวนหรือพระเจดีย์ไจ้เที่ยว
รัฐยะไข่ เป็นรัฐเก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในพม่า มีอายุกว่า 3,000 ปี
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ ติดกับรัฐฉิ่น เขตมะกวย เขตหงสาวดี
และเขตอิระวดี นอกจากนี้ยังมีพรมแดนติดกับอ่าวเบงกอลและบังคลาเทศ
อีกด้วย รัฐยะไข่เป็นเขตมรสุม เนื่องจากเป็นรัฐที่มีฝนตกชุก มีประชากร
ราว 2.6 ล้านคน ส่วนใหญ่นิยมอาศัยบริเวณหุบเขาและทะเล ประชากร
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม รัฐยะไข่มีพระพุทธรูปคู่บ้าน
คู่เมืองที่สำคัญ คือพระมหามุนี พระพุทธรูปองค์แรกของพุทธศาสนา
ซึ่งตามตำนานกล่าวไว้ว่าพระพุทธเจ้าทรงประทับเป็นแบบให้ช่างหล่อก่อนจะอัญเชิญองค์พระพุทธรูปที่หล่อเสร็จแล้วไปประดิษฐาน ณ วัดมหามุนี เมืองมัณฑเลย์ (ปัจจุบันคือพระมหามุนี พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่มที่เป็นที่รู้จักกันดี) ส่วนพระมหามุนีองค์ต้นแบบนั้น ยังคงประดิษฐานอยู่ที่ยะไข่ตราบถึงปัจจุบัน
รัฐฉาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ลาว และไทย รวมถึงรัฐกะฉิ่นและรัฐกะยา เขตสกาย เขตมัณฑเลย์ มีประชากรราว 4.7 ล้านคน รัฐฉานเป็นรัฐที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุด มีชนเผ่าอยู่รวมกันมากมายกว่า 80 ชาติพันธุ์ ทำให้มีภาษาถิ่นมากมายตามไปด้วย
ลสาบกลางหุบเขา มีระดับความสูงกว่า ห้าพันฟุตเหนือระดับน้ำทะเล การดำรงชีวิตของชาวบ้านในทะเลสาบอาศัยน้ำเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือสวนมะเขือเทศ ที่ทำกินต่างก็ลอยอยู่เหนือน้ำทั้งสิ้น นอกจากนี้การพายเรือในทะเลสาบก็พายด้วยขา ไม่ใช้มือพายเช่นที่อื่นๆ นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวอินตา ชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งของทะเลสาบอินเลแห่งนี้
วัดที่สำคัญในทะเลสาบอินเล ได้แก่ วัดพองดอว์อู ซึ่งประดิษฐาน พระบัวเข็มห้าองค์ ซึ่งมีประวัติและตำนานของความศักดิ์สิทธิ์มากว่าเก้าร้อยปี ตั้งแต่สมัยพุกาม วัดงาแพชอง วัดที่เจ้าฟ้าไทยใหญ่สร้างถวาย ภายในเป็นที่รวบรวมบัลลังก์พระพุทธรูปทำด้วยไม้สักแกะสลัก ฝีมือละเอียดงดงามมาก นอกจากนี้มีโรงงานทอผ้าไหมอินเล ซึ่งมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เขตปกครองย่างกุ้ง อยู่บริเวณที่ราบภาคกลางค่อนไปทางใต้ มีพรมแดนติดกับอ่าวเมาะตะมะ เขตปกครองหงสาวดีและเขตปกครองอิระวดี มีภูมิอาศร้อนชื้น มีประชากรราว 5 ล้านคน เมืองหลวงของเขตปกครองนี้คือเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศพม่าด้วย ย่างกุ้งเป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาล มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรมศูนย์กลางธุรกิจการค้า ศูนย์กลางคมนาคม และที่สำคัญที่สุด พระเจดีย์ชะเวดากอง พระเจดีย์ทองคำสัญลักษณ์ประเทศพม่าก็อยู่ที่เขตปกครองย่างกุ้งนี้ด้วย ทำให้เขตปกครองย่างกุ้งเป็นเขตที่มีความสำคัญที่สุดในพม่า
นอกเหนือไปจากพระเจดีย์ชะเวดากองแล้ว ย่างกุ้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ พระพุทธไสยาสน์เฉ้าทัตยี พระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ มีพระพักตร์งดงามมาก รวมไปถึงพระเจดีย์โบตาทอง ริมแม่น้ำย่างกุ้ง พระเจดีย์โบตาทองแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์คราวรับเสด็จพระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าจากประเทศอินเดีย นอกจากนี้ บริเวณพระเจดีย์ยังมี เทพทันใจ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่ออธิษฐานขอพรจากท่านทั้งในเรื่องหน้าที่การงานและครอบครัว จะได้ผล รวดเร็วทันใจ พระเจดีย์กาบาเอ ประดิษฐานพระธาตุของพระโมคคัลลาน์พระสารีบุตร พระเจดีย์ซะแวร์ดอว์ พระเจดีย์พระเขี้ยวแก้ว พระลาภมุนี พระพุทธรูปหยกขาว
หากจะดูชีวิตของชาวเมียนมาร์ในปัจจุบัน คงต้องไปที่ตลาดโบโจ๊ก หรือสก๊อตมาร์เกต ซึ่งมีสินค้าให้เลือกซื้อมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทับทิมและหยกพม่าอันลือชื่อ ไพลิน ไข่มุก หรือจะเป็นผ้านุ่ง ผ้าโสร่ง ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหมหรือผ้าฝ้าย เครื่องเงิน ไม้สัก ไม้หอมแกะสลักฯลฯ
เขตปกครองอิระวดี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของที่ราบภาคกลาง มีพรมแดนทางเหนือติดกับเขตปกครองหงสาวดี และย่างกุ้ง มีภูมิอากาศแบบมรสุม เขตปกครองอิระวดีมีประชากรราว 6.5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า กะเหรี่ยงและยะไข่ ป่าไม้ส่วนใหญ่ในเขตนี้อยู่ในเขตภูเขาสูง ผลผลิตอื่นนอกจากข้าว ก็คือ ข้าวโพด งา ถั่วลิสง และถั่วต่างๆ งานประเพณีทางศาสนาที่สำคัญก็คืองานประจำปีของพระเจดีย์มอตินซุน บริเวณแหลมเนเกรในมหาสมุทรอินเดีย
เขตปกครองหงสาวดี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของที่ราบภาคกลางติดกับเขตปกครองมะกวย มัณฑเลย์ อิระวดี ย่างกุ้ง รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ รัฐยะไข่ เมืองที่สำคัญในเขตนี้ ก็คือเมืองตองอูและแปร มีภูมิอากาศร้อนชื้นและบางส่วนคล้ายทุ่งหญ้าสะวันนา อากาศจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน เขตนี้เป็นแหล่งปลูกไม้สักที่ใหญ่ที่สุด มีการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ มีโรงเลื่อยและโรงอบไม้
เนื่องจากเมืองหงสาวดี เมืองเก่าแก่ของชาวมอญและเป็นอดีตราชธานีของพระเจ้าบุเรงนอง จึงมีสถานที่น่าสนใจที่ดึงดูดผู้คนให้ไปสัมผัส ได้แก่
พระเจดีย์ชะเวมอว์ดอว์หรือพระธาตุมุเตา พระเจดีย์เก่าแก่
เป็นพระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน
คู่เมืองหงสาวดี ก่อนพระเจ้าบุเรงนองออกศึกทุกครั้งต้องมานมัสการ
พระเจดีย์องค์นี้ พระราชวังพระเจ้าบุเรงนอง พระพุทธรูปชเวตาเรียว
พระพุทธรูปปางไสยาสน์เก่าแก่ พระพุทธรูปไจ้ปุ่น พระพุทธรูปสี่ทิศ
เมืองแปรเป็นอีกเมืองที่นักท่องเที่ยวมักจะไปเยือนเสมอๆ
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ พระเจดีย์ชะเวซานดอว์ พระเจดีย์
คู่บ้านคู่เมืองแปร โบราณสถานศรีเกษตร พระเจดีย์เก่าแก่อายุกว่า
2,600 ปี อาทิ พระเจดีย์พญาจี พระเจดีย์พญามา พระเจดีย์บอบอจี พระพุทธรูปชะเวเมียตมัน (พระพุทธรูปแว่นทอง)พระพุทธรูปใส่แว่นองค์เดียวในโลก มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีความมหัศจรรย์ตรงที่เมื่อใดที่ถอดแว่นออก จะมีน้ำตาไหลออกมาไม่หยุด
เขตปกครองมะกวย ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศแบบทะเลทราย มีอากาศร้อน อยู่ติดกับเขตปกครองมัณฑเลย์ หงสาวดี รัฐยะไข่ และฉิ่น มีประชากรราว 4 ล้านคน ส่วนใหญ่คือพม่า ฉิ่น ยะไข่ กะฉิ่นและฉาน อุตสาหกรรมที่สำคัญในเขตนี้ คือ โรงงานปูนซีเมนต์ ยาสูบ เหล็ก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือโบราณสถานวิษณุ ซึ่งมีการขุดพบเครื่องประดับทำด้วยทองคำ ลูกปัดสมัยศรีเกษตร
เขตปกครองมัณฑเลย์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภูเขามัณฑเลย์ เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองเขตนี้มีพรมแดนติดกับเขตปกครองสกาย หงสาวดี มะกวย และรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง มีประชากรราว 6 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นพม่าและไทยใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำพวก ชา กาแฟ ดอกไม้เมืองหนาว พลับ องุ่น เกาลัด นอกจากนี้ยังมีป่าไม้ เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ นอกจากนี้ยังมีเหมืองทับทิม ไพลิน หยก และยังเป็นแหล่ง
ก๊าซธรรมชาติ เนื่องจาก เมืองมัณฑเลย์ เคยเป็นอดีตเมืองหลวงและ
ศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ สถานที่ที่ควรไปชมคือ พระราชวัง
มัณฑเลย์พระราชวังไม้สักสร้างขึ้นใหม่ตามผังเดิม แทนที่
พระราชวังเก่าที่ถูกไฟไหม้เสียหาย วัดชะเวจองดอว์ วัดไม้สัก
ซึ่งช่างบรรจงแกะสลักไว้อย่างงดงาม ในอดีตเคยเป็นที่ประทับ
ของสมเด็จพระสังฆราชพม่า วัดกุโสดอว์ วัดซึ่งมีพระไตรปิฎก
สลักบนหินอ่อน 729 หลัก ได้รับสมญานามว่าเป็น สมุดหินเล่มใหญ่
หากใครมามัณฑเลย์แล้วต้องไปชม พิธีล้างพระพักตร์พระมหามุนี พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่มคู่บ้านคู่เมืองมัณฑเลย์ พิธีนี้เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานนับพันปี ไม่เคยหยุดเลยแม้แต่วันเดียว โดยเจ้าอาวาสซึ่งทำหน้าที่ล้างพระพักตร์ จะได้รับการคัดเลือกมาจากเจ้าอาวาส ทั่วประเทศให้เป็นผู้ทำพิธีนี้ พิธีเริ่มในเวลา 05.00 น.ของทุกวัน
เขตปกครองสกาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีพรมแดนติดกับรัฐกะฉิ่น ฉาน เขตปกครองมัณฑเลย์ มะกวย และประเทศอินเดีย มีพลเมืองราว 1 ล้านคน รัฐนี้ทำการเกษตรเป็นหลัก มีเขื่อนกาโบและคลองชลประทานคอยส่งน้ำ ผลผลิตที่สำคัญของเขตนี้ คือ ไม้สัก ไม้ทานาคา น้ำผึ้ง หวาย และไม้ไผ่ นอกจากนี้ ศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่สำคัญ ก็อยู่ที่เขตปกครองสกายนี้ด้วย ประเพณีที่สำคัญของเขตสกายก็คือ พิธีการถวายข้าว ณ พระเจดีย์ปาดาเมีย เป็นพิธีประจำปีที่สำคัญ
เขตปกครองตะนาวศรี มีพรมแดนด้านทิศใต้และตะวันออกติดกับทะเลอันดามัน มีประชากรราว 1.2 ล้านคน เนื่องด้วยภูมิประเทศของรัฐนี้เป็นชายฝั่งทะเล ประชากรจึงทำอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ มีการเพาะพันธุ์หอยนางรม รวมไปถึงการผลิตไข่มุกที่มีคุณภาพอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีรังนก ดีบุก และทรายเพื่อการผลิตแก้ว
เขตโบราณคดีปะกั่น (พุกาม) หากมาประเทศเมียนมาร์แล้ว สิ่งที่ต้องไม่พลาดคือการได้ใช้เวลาอยู่ใน อาณาจักรพุกาม ดินแดนในฝันที่เงียบสงบมากว่าพันปี มหาอาณาจักรที่ยังคงปรากฏร่องรอยแห่งความรุ่งเรือง และศรัทธาของคนที่มีต่อพุทธศาสนาในสมัยนั้น ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้และซาบซึ้งไปกับแรงศรัทธาของคนในอดีตกาล ในอดีตมีการก่อสร้างพระเจดีย์ในอาณาจักรแห่งนี้ถึงสี่ล้านกว่าองค์ แต่เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง ทำให้พระเจดีย์ได้รับความกระทบกระเทือน พังทลายเสียหายไปมากมาย ปัจจุบันจึงคงเหลือพระเจดีย์ที่ยังคงสภาพดี ราวสี่พันองค์ พระเจดีย์ที่สำคัญๆ และควรไปเยี่ยมชมได้แก่ พระเจดีย์ชะเวซิกอง พระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักรพุกาม พระเจดีย์อานันดา ที่ได้ชื่อว่าสง่างามที่สุดในพุกาม วัดมนูฮา วัดของกษัตริย์มอญที่ถูกพระเจ้าอโนรธานำตัวมาไว้ที่พุกาม และได้ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อแสดงความรู้สึกของพระองค์ให้ผู้คนรับรู้ เมี่ยเจดีย์ ซึ่งมีจารึกราชกุมารสี่ภาษา พระเจดีย์ธรรมยางจีซึ่งเป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในพุกาม
หากท่านต้องการจะมาเที่ยวเมียนมาร์ท่านสามารถใช้บริการของผมได้อย่างเป็นกันเอง
ด้วยความเคารพ,
นายไซม่อน ไอวิน
มือถือ: (+95) 9444287721
อีเมล์: simonaiwin7@gmail.com
Facebook: Find me
Line : simonaiwin